l
brg7
n-keloid
 

       คีลอยด์ ที่ติ่งหู การเกิดแผลนูนที่ติ่งหูมักเกิดมาจากการเจาะหูเพื่อใส่ต่างหูหรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุทำให้มีแผลฉีกขาดบริเวณติ่งหูก็สามารถเกิดแผลเป็นนูนได้ ในผู้ป่วยบางราย หลังการเจาะหูจะเป็นแผลเป็นนูนโตขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าไม่รับการรักษาแผลเป็นจะมีขนาดใหญ่มากและมีรูปร่างน่าเกลียดทำให้ไม่สามารถเข้าสังคมได้ตามปกติ การเกิดแผลเป็นมักเกิดในคนอายุน้อย โดยทั่วไปประมาณ 15 - 30 ปี จะพบมากที่สุด แต่ในผู้ที่สูงอายุกว่านี้ ( มากกว่า 40 ปี )พบน้อยกว่า ดังนั้นจึงพบว่า ปัญหานี้มักเกิดมากในผู้ที่อยู่ในวัยเรียนและวัยทำงาน ซึ่งเป็นเวลาที่มักนิยมเจาะหูครั้งแรกมากที่สุด

       แผลเป็นนูนสร้างปัญหาในการดำเนินชีวิตในสังคม เช่น ในบางคนอาจต้องเปลี่ยนทรงผมเป็นผมยาวขึ้น เพื่อปิดบังรอยแผลเป็นชนิดนี้ นอกจากนั้นแล้ว บางครั้งต้องหลีกเลี่ยงการพบปะผู้คน ทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ เนื่องจากต้องไว้ผมยาวตลอดและไม่สามารถเปิดใบหูได้

       ในปัจจุบันการเจาะหูในผู้ชายเป็นแฟชั่นที่นิยมกันมากขึ้น การเกิดแผลเป็นนูนของหู (keloid) ก็สามารถเกิดในผู้ชายได้เช่นเดียวกัน โอกาสการเกิดมีได้เท่ากับผู้หญิง การเกิดดีลอยด์ในผู้ชายมักพบปัญหามากกว่าในผู้หญิง เนื่องจากไม่สามารถไว้ผมยาวปิดได้

 การรักษาคีลอยด์อาจมีวิธีการต่างๆ ดังนี้

num1
num2
num3
num4
num5
num6

การผ่่าตัด โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มารับการรักษามักมีขนาดแผลนูนค่อนข้างใหญ่ ดังนั้น การรักษา ถ้าใช้การฉีดยาหรือการใช้แผ่นปิดแผลเป็นอย่างเดียวอาจได้ผลไม่ดีและใช้เวลานานกว่าที่ก้อนขนาดเล็กลง การผ่าตัดแผลเป็นนูนที่เกิดจากการเจาะหู ทำเพื่อลดขนาดของแผลเป็นให้มีขนาดเล็กใกล้เคียงกับปกติมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยที่สามารถเย็บปิดแผลได้หมด การผ่าตัดไม่สามารถตัดแผลเป็นออกได้ทั้งหมด เนื่องจากการผ่าตัดก้อนดีลอยด์ออกมากเกินไปอาจทำให้เย็บปิดแผลไม่ได้ หรือถ้าเย็บปิดแผลได้ก็อาจมีผลได้รูปร่างใบหูเปลี่ยนไปจากปกติมาก

การรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างเดียวมักเกิดคีลอยด์ขึ้นมาใหม่ ประมาณ 45 - 60 % ดังนั้นการผ่าตัดอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะรักษาดีลอยด์ ต้องใช้วิธีอื่นๆ ร่วมด้วย

ปัญหาของก้อนเนื้องอกดีลอยด์ที่หู คือการเกิดใหม่หลังผ่าตัด ซึ่งพบได้บ่อยประมาณ 60 - 90 % โดยที่แผลเป็นนูนจะเกิดในตำแหน่งของแผลผ่าตัดโดยจะเริ่มโตขึ้นประมาณ 1 - 2 เดือน หลังผ่าตัด บางครั้งอาจโตกว่า ดีลอยด์เดิม วิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ร่วมกับการผ่าตัด ได้แก่ข้อ 2 - 6

การนวดแผลเป็น หรือใช้วัสดุกดแผลเป็น ใช้กับแผลนูนที่บริเวณติ่งหู การใช้วัสดุที่ช่วยกดแผลเป็นทั้งเวลากลางวันและกลางคืน อย่างน้อย 4 - 6 เดือน จะช่วยลดอาการเกิดแผลเป็นนูน การใช้วัสดุกดแผลเป็น ช่วยลดขนาดของแผลเป็นลงได้ 60 - 80 %

การฉีดสเตียรอยด์ อาจใช้ฉีดอย่างเดียวหรือฉีดร่วมกับการผ่าตัด ถ้าฉีดสเตียรอยด์อย่างเดียวโอกาสแผลเป็น ซ้ำจะมีประมาณ 9 - 50 % การฉีดสเตียรอยด์จะได้ผลดีในแผลนูนที่เกิดในระยะแรกและมีขนาดไม่ใหญ่มาก ในบางครั้งการฉีดสเตียรอยด์ทำให้เจ็บมาก อาจผสมยาชาฉีดในบางราย อย่างไรก็ตามการใช้สเตียรอยด์ฉีดก็ควรใช้อย่างระมัดระวัง เพราะมีผลข้างเคียง คือ

  • ทำให้เนื้อเยื่อรอบ ๆ บางส่วนและผิวหนังรอบ ๆ บางลง
  • สีผิวหนังซีดลง
  • อาจทำให้เส้นเลือดฝอยขยาย หรือเกิดแผลบริเวณที่ฉีดได้

การใช้สเตียรอยด์ชนิดทา สามารถช่วยลดอาการคันบริเวณแผลเป็น แต่ไม่สามารถลดขนาดแผลเป็นได้

การฉายแสง ใช้สำหรับกรณีที่ใช้วิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล เนื่องจากมีผลข้างเคียงในการฉายแสง เช่น ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ผลการรักษาได้ผลดี ถ้าทำร่วมกับการผ่าตัด

การใช้ซิลิโคนแผ่นหรือซิลิโคนเจล
ซิลิโคนเจลมีการผลิต เพื่อใช้ทาแผลเป็นโดยบรรจุเป็นหลอดสามารถใช้ทาที่แผลเป็นได้ผลดี โดยสามารถลดขนาดลงได้ 60-100 % ซิลิโคนแผ่น อาจใช้ปิดแผลเป็นโดยใช้เทปช่วยปิด ถ้าสามารถปิดแผลได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 เดือน ก็จะได้ผลดี

การใช้ Laser การใช้เลเซอร์ยังได้ผลไม่ดี โดยทั่วไปมีอัตราการเกิดซ้ำ ซึ่งประมาณ 50-90 %
จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการรักษาดีลอยด์ที่หูไม่มีวิธีใดที่จะได้ผลดีมากถึงร้อยเปอร์เซ็นต์และโอกาสเกิดซ้ำ จะมีค่อนข้างมาก โดยทั่วไปควรทำการรักษาโดยการใช้วิธีผสมผสานกัน โดยหลักการ ดังนี้
       (1)  การผ่าตัดเพื่อลดขนาดแผลเป็น
       (2)  การป้องกันการเกิดใหม่

 การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  1. เตรียมลาหยุดงาน 1 - 2 วัน
  2. งดยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIN เช่น ยาทันใจ, แอสไพรินอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนผ่าตัด
  3. สมุนไพรบางชนิด เช่น อีฟนิ่งพริมโรส ยาวิตามินอีปริมาณสูง ๆ อาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส กระเทียม หัวหอม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติ หรือมีปัญหาระหว่างผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะอาจต้องหยุดรับประทานสมุนไพรก่อนเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 7 วัน
  4. ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวของคุณ เช่น เบาหวาน , โรคหัวใจ , และยาที่แพ้ เช่น เพนนิซิลิน ,ซัลฟา ฯลฯ
  5. สระผม ล้างหน้า ให้สะอาดก่อนมาผ่าตัด เนื่องจากหลังผ่าตัดอาจไม่สามารถทำความสะอาดตามปกติได้
  6. ถ้ามีความดันโลหิตสูง ต้องควบคุมให้ต่ำกว่า 140 / 90 Mm Hg (มิลลิเมตร ปรอท) ก่อนมารับการผ่าตัด
  7. ถ้ามีปัญหาโรคเลือดออกมากผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนผ่าตัด
  8. ไม่ต้องงดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัด
  9. ควรมีเพื่อนมาด้วยในวันผ่าตัด

 การผ่าตัด

  1. วาดรูปขนาดของแผลเป็นที่ต้องการตัด
  2. ฉีดยาชาผสมอดินารินเพื่อลดการไหลของเลือด
  3. ผ่าตัดแผลเป็นตามที่วาดรูปไว้
  4. การผ่าตัดมักไม่สามารถตัดแผลให้หมดได้ เนื่องจากต้องเหลือบางส่วนให้เย็บปิดผิวหนังได้
  5. เย็บปิดแผลผิวหนัง
  6. หลังผ่าตัดให้ปิดแผลประมาณ 24 ชั่วโมง เพื่อซับเลือดและน้ำเหลืองหลังจากนั้นเปิดแผลทายาวันละ 3 - 4 ครั้ง
    จนถึงวันนัดตัดไหม

ก่อนผ่าตัด

หลังผ่าตัด

 การดูแลหลังผ่าตัด

  1. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมหรือจำพวกแอลกอฮอร์ประมาณ 1 อาทิตย์
  2. ปิดแผล 1 วัน หลังจากนั้น เปิดแผลทายาแก้อักเสบที่จัดไว้ให้วันละ 3-4 ครั้ง
  3. ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำเกลือล้างแผลเช็ดคราบเลือดและสิ่งสกปรกออก โดยเช็ดอย่างเบามือ วันละ 2-3 ครั้ง และเช็ดได้บ่อยๆ เมื่อมีคราบเลือดออกมา
  4. วันที่ 3 แผลสามารถถูกน้ำได้ และอาบน้ำได้ตามปกติ
  5. ครบ 2 อาทิตย์ แพทย์จะนัดมาตัดไหม หลังจากตัดไหม 2 อาทิตย์ สามารถฉีดยาลดรอยแผลเป็นได้
  6. รับประทานยาตามแพทย์สั่งจนหมด ถ้าเกิดการแพ้ยา เช่น คัน มีผื่นแดง คลื่นไส้-อาเจียน แน่นหน้าอก ให้หยุดรับประทานทันที และรีบมาพบแพทย์
  7. ถ้ามีปัญหาเรื่องเลือดออกมากใช้ผ้าก๊อซปิดแผลใช้มือกดบริเวณแผลให้แน่น พร้อมทั้งประคบน้ำแข็ง กดแผลไว้ประมาณ 10-15 นาที เลือดมักจะหยุดเองและถ้าไม่หยุดให้กดแผลเป็นไว้อีก 10 นาที หลังจากกดครั้งที่ 2 ตัวเลือกไม่หยุดให้ติดต่อกับคลินิกหรือแพทย์ได้ทันที

 หลังการผ่าตัด

     หลังการผ่าตัด ถ้าไม่ทำการรักษาต่อแผลเป็นก็จะมีขนาดโตขึ้น โดยทั่วไปการป้องกันการเกิดใหม่ของแผลเป็นที่ใบหู ทำโดย

  1. ฉีดยาลดขนาดแผลเป็น โดยทั่วไปแพทย์จะนัดฉีดยาประมาณ 3 อาทิตย์ - 2 เดือน เป็นเวลาประมาณ 2 ปี โดยปรับระยะเวลาที่ทำการฉีดยาตามผลการรักษาและการลดขนาดลงของแผลเป็น เช่น ถ้าแพทย์ฉีดยาแล้วได้ผลดีแผลเป็นยุบลงเร็วมาก อาจนัดฉีดยาประมาณ 2 หรือ 3 เดือน ครั้ง แต่ถ้าแผลเป็นนูนยุบลงช้าอาจนัดฉีดยาทุก 2 อาทิตย์
     
  2. Laser ต้องทำหลังผ่าตัดประมาณ 1 เดือน โดยทั่วไปมักมีราคาแพงกว่าวิธีที่ 1 แต่ผลการรักษาไม่ดี
     
  3. การใช้ต่างหูหนีบ เป็นการรักษาแผลเป็นใบหู โดยใช้แรงกดแผลเป็นอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปแนะนำให้พยายามให้ใส่ต่างหูหนีบแผลเป็นประมาณ 12 ชั่วโมงต่อวัน จะช่วยให้แผลเป็นโตขึ้นใหม่ได้ยากขึ้น ข้อดีของวิธีนี้คือ ไม่เจ็บจากการฉีดยา แต่จะต้องใช้ต่างหูหนีบทุกวันและวิธีนี้ อาจไม่เหมาะกับผู้ชาย เพราะต่างหูหนีบมักทำสำหรับผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่มักไม่ได้ออกแบบให้ใช้กับผู้ชาย

       ในปัจจุบันมีต่างหูี่ พินนาแคร ซึ่งจะเป็นต่างหูที่มีการออกแบบมาให้สามารถติดแผ่น ซิลิโคน ด้านในต่างหู ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดแผลเป็นใหม่โดย 2 ขบวนการ คือ แรงกดจากต่างหูและ แผ่นซิลิโคน ซึ่งทำให้ได้ผลการรักษาดี ต่างหู พินนาแคร์ เป็นต่างหูหนีบ โดยหลักการสามารถลดขนาดแผลเป็นนูนโดยอาศัยแรงกดที่บริเวณแป้นทั้ง 2 ด้านกดแผลเป็นและจากการที่ขนาดของแป้นมีขนาดประมาณ 6 - 8 ม.ม. ดังนั้น การใช้ต่างหูนี้ อาจเหมาะกับแผลเป็นที่ผ่าตัดแล้วเหลือขนาดเล็ก ๆ ไม่เหมาะกับแผลเป็นนูนที่มีขนาดใหญ่ ๆ เพราะต่างหูไม่ได้มีขนาดใหญ่มาก สำหรับแผลนูนที่หลังผ่าตัดที่มีขนาดใหญ่ อาจต้องใช้การฉีดยาสเตียรอยด์ช่วยอย่างไรก็ตาม ถ้าได้ผลไม่ดี อาจต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อฉีดยาสเตียรอยด์เพิ่มในบางราย

       เทคนิคการรักษาแผลเป็นนูนของ คลินิกศัลยกรรมใบหู จะใช้การผ่าตัดคู่กับการฉีดยาสเตียรอยด์เป็นหลัก โดยที่วันแรกจะนัดตรวจ แผลเป็นนูนก่อนว่าี่จะสามารถผ่าตัดได้หรือไม่ แล้วนัดทำการผ่าตัด ซึ่งทำโดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ การผ่าตัดจะตัดแผลเป็นนูนออกบางส่วนให้สามารถเย็บแผลปิดได้ การเย็บปิดแผลใช้ไหมชนิดไม่ละลาย ซึ่งจะนัดมาตัดไหมประมาณ 2 อาทิตย์

       2 อาทิตย์หลังจากตัดไหมแล้วจะนัดมาฉีดยาสเตียรอยด์ การเตรียมการฉีดยา อาจใช้สเตียรอยด์ฉีดโดยตรงหรืออาจใช้เทคนิคผสมผสานกับการฉีดยาชา โดยทั่วไปเทคนิคการฉีดยาของแต่ละคลินิกจะแตกต่างกันไป ซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้ยาชาผสมกับสเตียรอยด์ฉีด วิธีที่คลินิกเราจะฉีดยาชารอบ ๆ แผลเป็นนูนก่อน โดยใช้เข็มขนาดเล็ก ซึ่งจะทำให้เจ็บน้อยมากระหว่างฉีดยาจะมีการกดบริเวณของด้านบนของติ่งหู เพื่อลดการเจ็บปวดเวลาเดินยาชา หลังจากทิ้งไว้ประมาณ 2 - 3 นาที จะเริ่มฉีดสเตียรอยด์บริเวณที่ก้อนแผลเป็น โดยทั่วไปการฉีดยาชาเข้าบริเวณแผลเป็นมักต้องใช้แรงดันมากและต้องใช้เข็มฉีดยาชนิดพิเศษ การฉีดยาที่ใช้แรงดันมาก ๆ อาจทำให้เจ็บปวดมาก การฉีดยาชาไว้ก่อนจะช่วยลดความเจ็บปวดบริเวณนั้นได้

       หลังจากฉีดยาครั้งแรกอาจจะให้เริ่มใช้ต่างหูหนีบ พินนาแคร ซึ่งช่วยลดการเกิดแผลเป็นนูนจากแรกกด ถ้าสามารถติดแผ่นซิลิโคนด้านในได้ก็จะได้ผลดีขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถติดแผ่นซิลิโคนด้านใน ก็มักได้ผลดีจากแรกกดของต่างหู การใช้ต่างหูหนีบในวันแรกๆ อาจใช้วันละ 4 ชั่วโมง ถ้าไม่มีอาการแพ้สามารถเพิ่มได้วันละ 2 ชั่วโมง จนกระทั่งสามารถใช้ได้วันละ 12 ชั่วโมง พยายามใช้ต่างหูหนีบทุกวัน จนแผลนูนไม่เกิดขึ้น 6 เดือนจึงเลิกใช้

       หลังจากฉีดยาครั้งแรก ทางคลินิกจะนัดมาทำการฉีดยาซ้ำทุก 3 อาทิตย์ อีก 2 ครั้ง ถ้าได้ผลดีก็จะนัดมาทุก 6 - 8 อาทิตย์ แต่ถ้าผลการรักษาไม่ได้ผลเร็วมากก็จะนัดมาทุก 3 - 4 อาทิตย์

ราคาศัลยกรรม

ผ่าตัดแผลเป็นนูน     4,000   บาท/ข้าง  (รวมอุปกรณ์หลังผ่าตัด)
ฉีดยาลดแผลนูน        500    บาท/ครั้ง

:: ขอสงวนสิทธิ์ข้อความและรูปภาพในเว็บไซต์นี้ ห้ามลอกเลียนหรือเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากเวบมาสเตอร์ ::

 
brg6
bot-b
r
menu2-b_01 menu2-b_12

Copyright 2007 www.earsclinic.com  All Rights Reserved. Designed by Seroong